แบบคำขอรับบริการออนไลน์ เทศบาลตำบลบางกระบือ




คลิ๊กที่นี่

 

สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ครั้งที่ 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ วัดศรีศรัทธาธรรม ตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

อาจเป็นกราฟิกรูป พริคลีแพร์ และ ข้อความพูดว่า "1ው! จังหวัดสมุทรสงครามขอเชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ใผนระธานุเ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช વ สยามมกฏราชกุมาร ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2568 วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 u. เป็นต้นไป ณ วัดศรีศรัทราธรรม ต. คลองเซิน อ. เมืองสมุทรสงคราม จ. สมุทรสงคราม วินักฟือ กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย บริการไห้ความูแะ้ไ้ไ้า ชากหน่อางังสักรกระ รนึกร่งเสรี อินิกปตุวี ดวินิกด้ง วีนักซ้าว นักประม AAN 用料 จลินักเกษตร រំបិរិ៥. บริการ..ฟรี ฟรี 2 ทำหมันสุนัขและแมว จำนวน ตัว* (ครัวเรือนละไม่เกิน2 ตัว) พร้อมวัคซีนพิษสขัขบน้าไม่ำกัดจำน ปิตรับองทะเบียนล่วงหน้าณะ คลองเงนจำนวน 0 ตรวจวัดคุณภาพดิน ตรวจวัดคุณภาพนำ บริการตรวจสารพิษตกล้างในเลือด และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย 3 และหน้างาน จำนวน ตัว) *กรุณนางดน้ำและอาหาร ก่อนน้ำสิตว์เลียงของท่านมาทำม 6-8 การสาธิตด้านการเกษตร แจกฟรี เอกสารวิชาการต้านการเกษตร ครอบคลุบทุกด้าน กิ่งพันธุ์ไม้ผล กล้าพันธุ์ผัก ก้อนเชื้อเห็ด ปุ๋ยมูลไลเดือน เมล็ดพันธุ์พืช น้ำหมักชีวภาพ เชื้อไตรโครเดอร์มา และอื่นๆอีกมากมาย •กิจกรรมสาริตารทำป๋มลไส้เด การทำก้อนเชื้อเห็ต สากริดการเปรูปอาหารจากปลาหบอคางด การทำกล้วยลอยแก้ว *อย่าลืม!! บัตรประชาชน สำหรับลงทะเบียนเช้าร่วมงาน สถานที่ตัดงาน แต่งภายด้วยชุดสุภาพ โทนสีเหลือง การจัดจำหน่ายสินค้าภายในงาน สินค้ารงฟ้าราคาพิเศษ สินค้าจากร้าบวิสาหคิจขุชนผหิ้นท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสนุทรสงคราม โทร ns034-711711 034-7 และสำนักงานเกษดรอำเกอกกอำเภอ"

สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ขอเชิญร่วมงาน
???? คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1
???? ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ วัดศรีศรัทธาธรรม ตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

กรมกิจการผู้สูงอายุ เชิญชวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะความรู้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง รูปแบบออนไลน์

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

กรมกิจการผู้สูงอายุ เชิญชวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะความรู้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง
รูปแบบออนไลน์
???? ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย !!!!!
✅ระหว่างวันที่ 16 - 17 ธันวาคม 2567 ผ่านระบบ Zoom meeting
✅สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 3 - 10 ธันวาคม 2567 รับจำนวนจำกัดเพียง 500 คนเท่านั้น
✅ลิงค์ลงทะเบียน : https://docs.google.com/.../1FAIpQLSe9sOPXi4VtGl.../viewform
https://www.dop.go.th/thai/news/1/5339

ครม. ไฟเขียวเงินอุดหนุนเด็กตั้งแต่อายุครรภ์ 4 เดือน - 6 ปี ให้ 600บาท/คน พร้อมเคาะเกณฑ์ปรับเพิ่ม “เบี้ยผู้สูงอายุ-คนพิการ”

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ

ครม. ไฟเขียวเงินอุดหนุนเด็กตั้งแต่อายุครรภ์ 4 เดือน - 6 ปี ให้ 600บาท/คน พร้อมเคาะเกณฑ์ปรับเพิ่ม “เบี้ยผู้สูงอายุ-คนพิการ”

(29 พ.ย. 67) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (ก.ส.ค.) เสนอ
สาระสำคัญ
กระทรวง พม. โดย ก.ส.ค. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับส่วนราชการระดับภูมิภาค จังหวัด และภาคีเครือข่าย รวมทั้งจัดประชุมร่วมกับหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคมและที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเด็กและเยาวชน 2) กลุ่มผู้สูงอายุ 3) กลุ่มคนพิการ 4) กลุ่มวัยแรงงาน และ 5) สวัสดิการสำหรับครอบครัว โดยคำนึงถึงมาตรฐานขั้นต่ำของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพิจารณามาจากความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิตของคนตลอดช่วงวัย และนำมาเทียบเคียงกับสวัสดิการที่รัฐจัดให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม

สรุปสาระสำคัญของข้อเสนอฯ ตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มเด็กและเยาวชน
ปรับฐานกลุ่มเป้าหมาย /ขยายอายุเด็กให้ครอบคลุมตั้งแต่
1.1ปรับฐานกลุ่มเป้าหมายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการให้เงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้าโดยไม่ต้องมีการคัดกรองรายได้ของครอบครัว (เดิมครัวเรือนต้องมีสมาชิกที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี) เพื่อให้ครอบคลุมและทำให้เด็กได้รับความช่วยเหลือแบบถ้วนหน้า ไม่ตกหล่น
1.2ขยายอายุของเด็กให้ครอบคลุม เริ่มจากเด็กในครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 6 ปี (เดิมตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปี) ได้รับเงินในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน (เท่าเดิม) เพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้ครอบครัวจะมีรายได้ลดลง
แนวทางการขับเคลื่อน
- ผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการขยายเงินอุดหนุนฯ ให้ครอบคลุมแบบถ้วนหน้าและขยายอายุของเด็กตั้งแต่ครรภ์ 4 เดือน- 6 ปี ในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน
- พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพฐานข้อมูลโครงการเงินอุดหนุนฯ รองรับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถรองรับกลุ่มเป้าหมายทุกคน จุดเด่นคือผู้ปกครองสามารถยื่นขอรับสิทธิผ่าน Mobile Application เงินเด็ก ซึ่งเชื่อมโยงกับข้อมูล ทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวตนของผู้รับสิทธิ ลดความผิดพลาดในการนำเข้าข้อมูล ลดจำนวนเอกสาร และลดระยะเวลาการดำเนินการ
- เชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เชื่อมโยงฐานข้อมูล สธ. เพื่อติดตามการเข้าสู่การคัดกรองพัฒนาการของเด็ก ภาวะโภชนาการ การได้รับวัคซีน การดื่มนมแม่ และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขด้านอื่น ๆ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับ ศธ. เพื่อติดตามการเข้าสู่ระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปที่อยู่ในสังกัด ศธ. ที่เข้ารับบริการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
- เพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีครอบครัวที่ไม่ประสงค์รับเงินอุดหนุนฯ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับเด็ก
2.พัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี รวมถึงพัฒนาการศึกษาทั้งในส่วนของหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งในกรณีเด็กที่หลุดออกจากระบบในช่วงส่งต่อการศึกษา ควรมีสวัสดิการในการแนะแนวอาชีพและให้คำปรึกษา
- ควรมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมาตรา 17 บัญญัติให้มีการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 9 ปี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายสิทธิสวัสดิการการศึกษาให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากเดิม เช่น เรียนฟรี อุปกรณ์ฟรี อาหารฟรี ร่วมกิจกรรมฟรี ฟรีรถรับส่ง
- ทบทวนการจัดสรรงบประมาณรายหัวสำหรับนักเรียน และเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
- เพิ่มเติมสวัสดิการในการดูแลเด็กและเยาวชนช่วงหลังเลิกเรียนและวันหยุด โดยการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนทั้งในพื้นที่จริงและสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อให้เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม เกิดการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ
- ติดตามประเมินผลการจัดสวัสดิการสังคมด้านการศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นผลตอบแทนเชิงสังคมที่เกิดจากการลงทุนด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาสวัสดิการด้านการศึกษาให้ได้มาตรฐานมากขึ้น

กลุ่มผู้สูงอายุ
1. การปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
•อายุ 60 - 69 ปี เดือนละ 700 บาท
•อายุ 70 - 79 ปี เดือนละ 850 บาท
•อายุ 80 - 89 ปี เดือนละ 1,000 บาท
•อายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป เดือนละ 1,250 บาท
เพื่อให้เพียงพอต่อค่าครองชีพของผู้สูงอายุในปัจจุบัน สำหรับประมาณการงบฯ ที่ต้องใช้ในกรณีปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวในปี 2567 เป็นเงิน 123,353 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปี 2573 เป็นเงิน 152,903 ล้านบาท
- การผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการปรับเบี้ยผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
- การพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลในการเข้าถึงและจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบันและอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ
- การเพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีผู้สูงอายุไม่ประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ
2. ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน(Community Center) สำหรับทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการดูแลคนทุกช่วงวัยให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ควรร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น อปท. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คนในชุมชน ผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน โดยร่วมกันออกแบบโครงสร้าง แนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนทุกช่วงวัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยชุมชนดูแลกันเอง เน้นการใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชน เช่น โรงเรียนที่ปิดตัวไม่มีการเปิดการเรียนการสอนมาเป็นพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์
- ควรมีหน่วยงานในพื้นที่ทำหน้าที่ประสานและมีรถรับส่งผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในศูนย์ของชุมชนหรือในชุมชนไปยังสถานพยาบาล
3. การส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสม ตามกฎหมายแรงงาน ได้กำหนดอายุ วัยแรงงานตั้งแต่ 15 - 60 ปี แต่หากผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีศักยภาพและกำลังในการทำงานหลังครบกำหนดอายุตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายคุ้มครองแรงงานควรกำหนดให้มีการรับรองสิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุเพื่อคุ้มครองเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานและสภาพการจ้างงาน เช่น งานและสถานที่อันตรายที่ห้ามผู้สูงอายุทำงาน ชั่วโมงการทำงานต่อวันและต่อสัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... โดยหมายรวมถึงผู้สูงอายุด้วย แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้
- การผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....
ในการคุ้มครองแรงงานอิสระที่เป็นแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม
- การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการจ้างงานแรงงานผู้สูงอายุ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีให้สถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ
- ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

กลุ่มคนพิการ
1. การปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่า
ครองชีพเป็น 1,000 บาท แบบถ้วนหน้าโดยดำเนินการควบคู่ไปกับการนำคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม และเป็นธรรม
- การผลักดันข้อเสนอเชิงในการปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ
- การทบทวนคำนิยาม “คนพิการ” ให้ชัดเจนและทุกหน่วยงานใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันในการทำงาน
- การปรับลดขั้นตอน/กระบวนการสำหรับการขอบัตรประจำตัวคนพิการและขอรับเบี้ยความพิการ โดยให้บริการแบบครบวงจรมีระบบ One Stop Service
- การออกใบรับรองความพิการผ่านแอปพลิเคชัน โดยให้เชื่อมกับแอปพลิเคชันสุขภาพที่มีอยู่
2. การส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพิ่มมากขึ้นควรเริ่มจากการปรับทัศนคติของผู้ประกอบการ ในการพิจารณาศักยภาพในการทำงานของคนพิการอย่างเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติจากความบกพร่องด้านความพิการ
- มีการกำหนดหรือปรับปรุงกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติในการทำงานที่ชัดเจน และทำให้คนพิการมีโอกาสเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิการถูกจ้างงาน
- การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อสิทธิในการเดินทาง/คมนาคมและบริการสาธารณะ สิทธิในการเข้าถึงที่พักอาศัย สินค้าและสิทธิในการติดต่อทางโทรคมนาคมเพื่อรองรับการเดินทางไปประกอบอาชีพของคนพิการให้เป็นไปด้วยความสะดวก
- ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภทความพิการและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
- ควรส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนรับคนพิการเข้าทำงาน
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการด้านกายอุปกรณ์ ที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูและดูแลตนเองที่บ้าน รวมทั้ง การบริการด้านการศึกษา สาธารณสุข และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ไม่สามารถตอบโจทย์ความพิการแต่ละประเภท
- การส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้ง “ธนาคารกายอุปกรณ์” ให้ยืมอุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้มีความจำเป็นในระดับจังหวัดให้มีความครอบคลุมทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบการให้บริการในการขอรับกายอุปกรณ์ให้มีความสะดวกสบาย และเอื้อต่อผู้มาขอรับบริการ โดยให้ชุมชนดูแลกันเอง
- การส่งเสริมให้มีสถานที่พักพิงชั่วคราวในการฝากดูแลคนพิการผู้สูงอายุ และผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น อปท. จัดสถานที่สำหรับดูแลคนพิการในชุมชนโดยมีอาสาสมัครซึ่งเป็นคนในชุมชนมาช่วยดูแลโดยอาสาสมัครต้องได้รับการฝึกอบรมการดูแลคนพิการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ตามประเภทความพิการ และได้รับค่าตอบแทนเหมือนกับอาสาสมัครหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข
กลุ่มวัยแรงงาน
1. การยกระดับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบโดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขยายสิทธิประกันสังคมที่ตรงตามความต้องการของแรงงานนอกระบบ
- การปรับปรุงสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานรูปแบบใหม่ในอนาคต (Gig Worker) ผ่านการปรับปรุงนิยามของผู้รับจ้างและลูกจ้าง โดยคำว่าลูกจ้างครอบคลุมถึงผู้รับจ้างบางกลุ่ม เช่น แรงงาน Gig Worker หรือการจัดประเภทแรงงานให้ชัดเจนว่าเป็นแรงงานประเภทใด หรือการจัดประเภทแรงงานเหล่านี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้แรงงานกลุ่มนี้เข้าถึงความคุ้มครองทั้งทางกฎหมายและทางสังคม
- การปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจแรงงานนอกระบบ/แรงงาน Gig Worker ให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์มาตรา 40 จากเดิมมี 3 ทางเลือกให้มีทางเลือกมากขึ้น
- การศึกษาความเป็นไปได้ด้านงบประมาณและคำนวณงบประมาณคาดการณ์ที่จะใช้สำหรับการเพิ่มสิทธิประโยชน์
2. การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมุ่งเน้น
การพัฒนาทักษะ (Re-skill) ยกระดับทักษะ (Up-Skill) เทคโนโลยีสารสนเทศ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องดิจิทัล เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบกิจการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด
-จัดทำหลักสูตรการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ตลาดแรงงาน และโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบัน
โดยต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาทักษะที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) ทักษะการเรียนรู้ 2) ทักษะด้านดิจิทัล และ 3) ทักษะทางด้านชีวิต สังคม และอาชีพ และใช้โปรแกรมประเมินข้อมูลรายบุคคล เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพว่าแต่ละคนเหมาะกับงานแบบใด เพื่อให้ได้งานที่เหมาะสมกับทักษะ รวมถึงให้ประกาศนียบัตรเพื่อรับรองผู้เข้าอบรมว่าสามารถทำงานได้จริง

สวัสดิการสำหรับครอบครัว
พัฒนา “แนวทางสวัสดิการบริการสนับสนุนครอบครัว (Family Support Service)” โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน ออกแบบสวัสดิการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของครอบครัวแต่ละประเภท เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวสามารถเข้าถึง ได้รับสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
- ทบทวนคำนิยามและมุมมองต่อ “ครอบครัว” ให้ครอบคลุมครอบครัวทุกประเภท เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบสวัสดิการสำหรับครอบครัวได้อย่างชัดเจน
- การอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้กับครอบครัวที่มีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในลักษณะของ In-Horne Care (การดูแลที่บ้าน) เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจนสามารถฟื้นคืนภาวะปกติ หรือลดความเสี่ยงต่ออาการในระดับที่รุนแรงขึ้น
- ส่งเสริมและเสริมพลังให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและมีบทบาทในการดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ถูกต้อง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
- พัฒนาและออกแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน
- จัดบริการสังคมที่เหมาะสมกับครอบครัว

ประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายฯ
•ประชาชนทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชน วัยแรงงาน ผู้สูงอายุ คนพิการได้รับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้
•มีกลไกท้องถิ่น ท้องที่ และภาคประชาสังคมเป็นฐานในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับครอบครัวและคนทุกช่วงวัย

#ครมไฟเขียวเงินอุดหนุนเด็กตั้งแต่อายุครรภ์4เดือนถึง6ปี ให้600บาทต่อคน #พม #กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเยือนอีกครั้ง ⚠️ คนไทยต้องระวังอะไรบ้าง?

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "! โรค ร้ว้ายๆ โดย ยกองรควาการประกอบอามีพและนิ่งแ f โรครว้ายๆวัยทำงาน วัดพรทัำงาย PM คนไทยต้องระวังอะไรบ้าง? 2.5 กลับมาเยือนอีกครั้ง อีกค บ้าง? ปัจจัยเสี่ยง อาการเตือนแพ้ฝุน PM25 ตำแหน่งที่อยู่ ตา มีปริมาณฝุ่นสะสมมาก แสบเคือง ค้นบริเวณดวงตา ระยะเวลาสัมผัสฝุ้น อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ผิวหนัง คันผิวหนัง มีผื่นขึ้น ทางเดินหายใจ ทางเดินหายใจ มีน้ำมูก แสบคอ มีเสมหะ ! กิจกรรมที่ทำ ทำงาน ออกกำลังกายกลางแจ้ง ลักษณะเฉพาะบุคคล กลุ่มเสี่ยง เด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ "หลีก เลี่ยง ลด" หมดปัญหาฝุน P3 PM หลีก ปิด เลี่ยงสัมผัสฝุ่น PM2.5 ประตูหน้าต่างให้มิดซิด เช็คข้อมูลอากาศผ่าน Air4Thai ทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่ได้มาตรฐาน เลี่ยง ทำกิจกรรมนอกอาคาร หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ลด การใช้รถยนต์ และการเผาทุกชนิด ที่จะกณาอโอกระกระกลนเล่แลแ នដែមាបមិវ្ាំបររដែលមើងាន"

ช่วงนี้แม้จะเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว แต่ “ฝุ่น PM 2.5 ” กำลังกลับมาเยือนไทยอีกครั้ง เหมือนเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพประจำฤดูกาล ที่คนวัยทำงานจะมองข้ามไปไม่ได้!
 
เพราะฝุ่นเหล่านี้มีอนุภาคขนาดเล็กมาก และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากได้รับผ่านทางการหายใจ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้ตามมาได้ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ อาจมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปได้❗
 
???? #โรครว้ายๆวัยทำงาน ชวนสำรวจปัจจัยเสี่ยงของการได้รับฝุ่น PM 2.5 ว่าเกิดจากอะไรบ้าง?
????ตำแหน่งหรือสถานที่ที่เราอยู่ ณ ขณะนั้น หากมีปริมาณฝุ่นสะสมมาก ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงได้
????ระยะเวลาในการสัมผัสฝุ่น ยิ่งอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ก็จะได้รับฝุ่นเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น
????กิจกรรมที่ทำการทำงาน หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากออกแรงมาก ก็จะต้องหายใจรับฝุ่นมากขึ้น
????ลักษณะเฉพาะบุคคล ผู้มีโรคประจำตัว ภูมิต้านทานต่ำ กลุ่มเสี่ยง เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ
ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ตามมาผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่
???? ตา มีอาการแสบเคือง คันบริเวณดวงตา
???? ผิวหนัง ฝุ่นจะทำให้เกิดอาหารคันผิวหนัง มีผื่นขึ้น ลมพิษ
???? ทางเดินหายใจ ฝุ่นที่สะสมจะทำให้เกิดน้ำมูก แสบคอ และมีเสมหะ
 
????️เตรียมตัวรับมือให้พร้อม สู้ฝุ่นด้วยเทคนิค "หลีก-ปิด-ใช้-เลี่ยง-ลด" หมดปัญหา PM 2.5
✅หลีก เลี่ยงสัมผัสฝุ่น PM 2.5 และเช็คข้อมูลอากาศผ่าน Air4Thai เพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศ
✅ปิด ประตูหน้าต่างให้มิดชิด ทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ
✅ใช้ หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
✅เลี่ยง ทำกิจกรรมนอกอาคาร หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง
✅ลด การใช้รถยนต์และการเผาทุกชนิดที่ทำให้เกิดควัน
 
????เพราะฝุ่นตัวร้ายกำลังกลับมา ดังนั้นไม่ประมาท สวมใส่แมสทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน โรครว้ายๆ เป็นห่วงคนวัยทำงานทุกท่านค่า ????
 
ที่มา : กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
-----------------------
⏬สามารถติดตามข่าวสารโรคและภัยสุขภาพอีกช่องทางหนึ่งทาง
????facebook กดดู รู้โรค by กรมควบคุมโรค
????X กรมควบคุมโรค
????TikTok กรมควบคุมโรค
????IG: ddcthailand_official
????LINE กรมควบคุมโรค
????คลังสื่อโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค

กรมการปกครอง พร้อมแล้ว ! “ระเบียบ ระบบ เจ้าหน้าที่” อำนวยความสะดวกประชาชน “จดทะเบียนสมรส (เท่าเทียม)”

กรมการปกครอง พร้อมแล้ว ! “ระเบียบ ระบบ เจ้าหน้าที่” อำนวยความสะดวกประชาชน “จดทะเบียนสมรส (เท่าเทียม)”
???? สู่ความรักที่เท่าเทียมให้กับทุกคนได้อย่างแท้จริง ณ ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต ทุกแห่งทั่วประเทศ
???????? เพื่อให้คู่สมรสที่ประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายใหม่ได้รับริการที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไทยร่วมเดินหน้าสู่การสร้างความรักที่เท่าเทียมให้กับทุกคนได้อย่างแท้จริง
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

 

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese






















 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้698
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้1980
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้698
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว18316
mod_vvisit_counterเดือนนี้56141
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว72260
mod_vvisit_counterทั้งหมด987897

We have: 14 guests, 1 bots online
IP: 18.191.91.15
วันนี้: ธ.ค. 22, 2024

คุณพอใจ เทศบาลตำบลบางกระบือ ด้านใด







 



































QR Code
ทต.บางกระบือ



ลิขสิทธิ์ © 2558-2563 เทศบาลตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โทร 034-757-675

นโยบายการคุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล