แบบคำขอรับบริการออนไลน์ เทศบาลตำบลบางกระบือ




คลิ๊กที่นี่

 

ส่อง 10 วิธี 'นอน' อย่างไร ให้มีสุขภาพดี?

 

อย่างที่เราทราบกันดีว่า การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มี สุขภาพแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยในทางกลับกันหากเรานอนไม่มี คุณภาพก็จะส่งผลกระทบทางสุขภาพและสังคม การด้อยประสิทธิภาพการทำงาน หรือการเกิดอุบัติเหตุ

โดยการนอนที่ถูกหลักอนามัย (Sleep Hygiene) สำหรับผู้ใหญ่   มีข้อปฏิบัติ 10 ประการ คือ

1. ควรเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน ทั้งวันทำงานและวันหยุด

2. ไม่ควรงีบในเวลากลางวัน ถ้านอนกลางวันเป็นประจำไม่ควรงีบเกิน 30 นาที และไม่ควรงีบหลังบ่ายสาม

3. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และอาหารมื้อหลัก รสจัด เผ็ด หรืออาหารหวานอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน

5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนนอน

 

6. เตียงนอนควรเป็นเตียงนอนสบาย อุณภูมิที่เหมาะสม ระบายอากาศดี ไม่มีเสียงดัง

7. ผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล

8. ไม่ใช้เตียงนอนเป็นที่ทำงาน เล่นโทรศัพท์ ดูทีวี

9. หากนอนไม่หลับภายใน 30 นาที ควรลุกจากที่นอนทำกิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ และ

10. รับแสงแดดเพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน ทั้งนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างน้อย 4 สัปดาห์ จะช่วยให้หลับได้ดี มีความตื่นตัวในเวลากลางวัน ทำงานได้ดีขึ้น และสุขภาพทางกายใจดีขึ้น

ที่มา : สสส.

 

งูสวัด อันตรายกว่าที่คิด – ภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด

ภูมิคุ้มกันของผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เสื่อมลงตามอายุทำให้เสี่ยงเป็นโรคงูสวัดได้ง่ายขึ้น! โดยเฉพาะผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน มีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่า 6%

ป่วยเป็นโรคงูสวัด ระวังภาวะแทรกซ้อนอันตราย!

โรคงูสวัด เกิดจากไวรัส Varicella Zoster ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ผู้ป่วยมักมีอาการปวดแสบ ปวดร้อนตามแนวเส้นประสาท ตามมาด้วยตุ่มน้ำใส ซึ่งมักจะหายไปภายใน 2-4 อาทิตย์ อย่างไรก็ตาม โรคงูสวัดอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น

  • ปวดปลายประสาทเรื้อรังบริเวณที่เป็น ปวดประสาทหลังผื่นงูสวัด (Post-herpetic neuralgia: PHN) อาการปวดแสบ ปวดร้อน บริเวณที่เคยเป็นผื่น อาจอยู่นานเป็นเดือน หรือเป็นปี
  • ตาอักเสบ กระจกตาอักเสบ หากเกิดขึ้นที่บริเวณตา และอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น
  • เชื้อไวรัสขึ้นสมอง ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อัมพาตครึ่งซีกบนใบหน้า เนื่องจากเกิดการอักเสบโดยเฉพาะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
  • ปวดหู การได้ยินลดลง เวียนศีรษะ หากขึ้นบริเวณใบหู
  • การติดเชื้อซ้ำซ้อนบริเวณผิวหนัง
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวม สมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

ป้องกันโรคงูสวัด และความรุนแรงของโรค ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ป่วยกลุ่มภูมิคุ้มกันต่ำ โดยฉีดวัคซีน 2 เข็ม เว้นระยะห่างกัน 2-6 เดือน

ขอบคุณข้อมูลจาก.https://www.sikarin.com/health

 

เรื่องสำคัญของ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ที่ต้องรู้!

รู้จักโรคหลอดเลือดสมอง “Stroke” คืออะไร? มีอาการแบบนี้รีบพบแพทย์ด่วน!

  • ⚠️ แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก
  • ⚠️ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด กลืนลำบาก
  • ⚠️ ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
  • ⚠️ เวียนศีรษะรุนแรง เดินเซ มึนงง

หากพบอาการดังกล่าว ต้องรีบพาผู้ป่วยส่งถึงมือแพทย์ภายใน 4.5 ชั่วโมง!! ยิ่งเร็ว ยิ่งปลอดภัย???? เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและเพิ่มโอกาสการรักษาให้กลับมาเป็นปกติดีที่สุด เพราะทุกนาทีคือชีวิต

เสี่ยงทุกวัย!  เตือนคนใกล้ตัว มีอาการเสี่ยง ไม่ควรขับรถ และรีบส่งโรงพยาบาลด่วน หรือโทร.1669 แจ้งเหตุฉุกเฉินโดยทันที 

การรู้จักสังเกตอาการและปฏิบัติอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้น ดังนั้นแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ให้คนรอบข้างได้รู้กันเถอะ

9 โรคที่ควรระวัง มีอะไรบ้างที่ห้ามขับรถ ? 

รู้หรือไม่? มีโรคบางชนิดที่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณและผู้อื่นบนท้องถนน นี่คือ กลุ่มโรค และปัญหาสุขภาพเสี่ยง ห้ามขับรถ

  • โรคที่เกี่ยวกับสายตา จอประสาทตาเสื่อม ต้อหิน
  • โรคทางสมองและระบบประสาท
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคลมชัก (ถ้าไม่เกิดอาการชักอย่างน้อย 1 ปี จึงจะปลอดภัยเพียงพอต่อการขับรถ)
  • โรคข้ออักเสบหรือข้อเสื่อม
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวานระยะควบคุมไม่ได้
  • การรับประทานยาบางชนิด ที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึมหรือง่วงนอน

**โรคบางชนิดอาจได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ โดยต้องได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์อย่างละเอียด หากคุณเป็นโรคเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจขับรถ**

EV71 สายพันธุ์รุนแรง โรคมือเท้าปาก

EV71 (Enterovirus 71) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก มักพบมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก (HFMD)

อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ไข้
  • เจ็บปากและมีแผลในปาก
  • มีผื่นตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แขน ขา และก้น
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย

โรคมือ เท้า ปาก โดยทั่วไปสามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่กรณีที่เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (EV71) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ก้านสมองอักเสบ หัวใจอักเสบ น้ำท่วมปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้!

EV71 สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ผ่านทาง

  • การสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระของผู้ป่วย
  • การไอ จาม โดยไม่ปิดปาก
  • การใช้สิ่งของ ของเล่นร่วมกัน

EV71 ติดต่อง่ายแต่ป้องกันได้ สายพันธุ์ EV71 แพร่เชื้อติดต่อกันได้ง่าย แต่ก็สามารถป้องกันได้ แนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก EV71 ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังปกป้องลูกน้อยจาก EV71 สาเหตุของโรคมือเท้าปาก ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะก่อนหยิบของเข้าปากและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ทำความสะอาด ของเล่น และพื้นผิวต่างๆ ที่เด็กสัมผัสบ่อยๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • สอนลูกให้ไอหรือจามใส่ข้อพับแขน ไม่ใช้มือปิดปาก
  • งดพาเด็กไปสถานที่แออัด หากลูกป่วยควรหยุดเรียนหรือหยุดทำงาน
  • ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

วัคซีนป้องกัน “โรคมือเท้าปาก” รุนแรง จากไวรัส EV71

สังเกตอาการเสี่ยง มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ และชัก หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบพาพบแพทย์ทันที

ขอขอบคุณข้อมูลจาก.https://www.sikarin.com/health/ev71

ฝนตกบ่อย ระวังป่วย ดูแลสุขภาพด้วยนะ

ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ระวังโรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน เพราะความชื้นในอากาศสูง เชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่างๆ แพร่กระจายอยู่ในอากาศ และสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราได้โดยตรง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ป่วยง่าย และติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้มีอาการ ไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ไอ และเจ็บคอ

นอกจากไข้หวัดแล้ว ยังมีกลุ่มโรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน ได้แก่

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยระวังเป็นภูมิแพ้ นี่เราเป็น “ภูมิแพ้” หรือ “โควิด-19”


ดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคต่างๆ ด้วยการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย เปลี่ยนทันทีเมื่อหน้ากากชื้น
  • อาบน้ำ สะผมทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือหากมีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก
  • สระผมแล้วต้องเช็ดหรือเป่าผมให้แห้ง
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก.https://www.sikarin.com/health

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese






















 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้905
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้1547
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2452
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว18316
mod_vvisit_counterเดือนนี้57895
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว72260
mod_vvisit_counterทั้งหมด989651

We have: 19 guests online
IP: 3.145.54.210
วันนี้: ธ.ค. 23, 2024

คุณพอใจ เทศบาลตำบลบางกระบือ ด้านใด







 



































QR Code
ทต.บางกระบือ



ลิขสิทธิ์ © 2558-2563 เทศบาลตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โทร 034-757-675

นโยบายการคุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล