แบบคำขอรับบริการออนไลน์ เทศบาลตำบลบางกระบือ




คลิ๊กที่นี่

 

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ อันตรายที่ป้องกันได้

มลพิษทางอากาศ หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ยากและเป็นภัยต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือใกล้เขตอุตสาหกรรม ทางที่ดีจึงควรเรียนรู้ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพและวิธีป้องกันที่ถูกต้อง เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายที่มาพร้อมปัญหานี้

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ คือการปนเปื้อนของสารเคมี สารประกอบทางกายภาพ และสารทางชีววิทยาในสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ ยานพาหนะ การทำอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ไฟป่า โดยสารในมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ อนุภาคขนาดเล็กที่ถูกกำจัดไม่หมด ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์

มลพิษทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

มลพิษทางอากาศภายนอก เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร อาทิ

  • อนุภาคที่เกิดจากการเผาไหม้ของพลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น
  • ก๊าซพิษ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือไอระเหยจากสารเคมีต่าง ๆ
  • โอโซนระดับพื้นดิน ซึ่งเป็นโอโซนชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของหมอกควันที่เป็นพิษในบริเวณตัวเมือง
  • ควันจากยาสูบ ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษและสารก่อความระคายเคือง ส่งผลให้ผู้สูดดมเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและโรคหอบหืด

มลพิษทางอากาศภายใน เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นภายในอาคารหรือที่พักอาศัย เช่น

  • อนุภาคจากการเผาไหม้ของก๊าซหุงต้ม เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ เรดอน เป็นต้น
  • สารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน
  • สารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แร่ใยหิน ฟอร์มาดิไฮด์ ตะกั่ว เป็นต้น
  • สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จากภายในและนอกอาคาร เช่น ฝุ่น สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบและหนู เป็นต้น
  • ควันจากยาสูบ
  • ราและเกสรดอกไม้

นอกจากนี้ สารต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาคารอาจเข้าสู่ภายในอาคารจากการเปิดหน้าต่าง ประตู หรืออุปกรณ์ระบายอากาศได้เช่นกัน

มลพิษทางอากาศส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ ?

มลพิษทางอากาศอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา คอ และปอด โดยหากอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงอาจมีอาการแสบตา ไอ และแน่นหน้าอกได้

อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศของแต่ละคนอาจแสดงออกแตกต่างกัน เด็ก ๆ มักรู้สึกถึงความผิดปกติจากมลพิษทางอากาศได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ แต่จะมีอาการป่วยที่รุนแรงมากกว่า เช่น หลอดลมอักเสบ และอาการปวดหู ผู้ใหญ่บางรายอาจมีอาการรุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจไวต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ รวมทั้งมีอาการได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาพบว่ามลพิษทางอากาศส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายประการ เช่น โรคเกี่ยวระบบทางเดินหายใจอย่างหอบหืดหรือความผิดปกติในการทำงานของปอด โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด การคลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่การเสียชีวิต นอกจากนี้ ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศภายนอกยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

คุณภาพของอากาศวัดได้อย่างไร ?

ในประเทศไทย คนทั่วไปรับรู้คุณภาพของอากาศได้จากผลวัดที่จัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ เรียกว่าดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับอากาศที่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมนำเสนอแก่ประชาชนทั่วไปเป็นระยะ เพื่อให้รับรู้ถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศและความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ และมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ถือว่าเป็นปกติคือ 100 หากสูงกว่าแสดงว่าในอากาศมีความเข้มข้นของมลพิษค่อนข้างสูงหรือสูงมาก โดยเกณฑ์การวัดมีดังนี้

  • 0-50 ใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับดี และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 51-100 ใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับปานกลาง และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 101-200 ใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารนาน ๆ
  • 201-300 ใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุควรลดการออกกำลังกายนอกอาคาร
  • มากกว่า 300 ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรอยู่แต่ภายในอาคาร บุคคลทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร

วิธีป้องกันมลพิษทางอากาศ

การป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่พึงกระทำเพื่อสุขภาพที่ดี โดยวิธีป้องกันตัวเองและครอบครัวจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศในเบื้องต้น ทำได้ดังต่อไปนี้

การป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศภายนอก

  • อยู่ภายในอาคารให้มากที่สุดระหว่างวัน และหลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกอาคารบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูงเป็นเวลานาน
  • หากต้องออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วน อาจออกแต่เช้าตรู่หรือรอหลังพระอาทิตย์ตก เนื่องจากแสงอาทิตย์จะส่งผลให้โอโซนระดับภาคพื้นดินซึ่่งเป็นองค์ประกอบหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองและส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีระดับสูงขึ้น
  • เมื่ออยู่ภายนอกอาคาร ควรหายใจช้า ๆ และอย่าทำกิจกรรมที่ส่งผลให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ได้รับมลพิษทางอากาศมากขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัยชนิดมีตัวกรอง ซึ่งจะช่วยกรองสารหรืออนุภาคขนาดเล็กออกจากอากาศที่หายใจได้ในระดับหนึ่ง
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอดควรปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศภายใน

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ภายในอาคาร
  • วางเตาอบหรือเตาแก๊สในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลีกเลี่ยงการใช้พรม เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมฝุ่น
  • จัดที่พักอาศัยหรือสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบ
  • หากภายในอาคารมีความชื้นสูง ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องลดความชื้น
  • เก็บรองเท้าไว้นอกบ้าน
  • หมั่นทำความสะอาดเพื่อลดฝุ่น
  • เก็บถังขยะให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลง
  • ตรวจสภาพรถและตรวจวัดการปล่อยมลพิษอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดปริมาณการใช้สเปรย์ปรับอากาศ
  • ซักเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนทุกสัปดาห์
  • ใช้พัดลมระบายอากาศภายในห้องน้ำและห้องครัว
  • ใช้เทียนหอมหรือเตาน้ำมันหอมระเหยในบ้านแต่พอเหมาะ

 

แนวทางการจัดการยะ

แนวทางการจัดการแยกขยะ
    กำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ เช่น การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันในด้านต้นทุนการดำเนินงาน ความพร้อมขององค์กร ปริมาณและประเภทของขยะ เป็นต้น 
 
จัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R คือ
    - Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง
    - Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น
    - Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ 
    - Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ 
    - Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง 
การแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น
    - ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก
    - ขยะเปียกสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 
    - ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีกำจัดที่ปลอดภัย 
ส่งเสริมการผลิตที่สะอาดในภาคการผลิต โดยลดการใช้วัสดุ ลดพลังงาน และลดมลพิษ เพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น 
ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการจัดการขยะ 
ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ 
รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในชุมชน 

ลดโลกร้อน ด้วยวิธีง่าย ๆ

วิธีง่ายๆ ร่วมกันลดโลกร้อน

 
สำคัญที่สุด.. คุณต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะช่วยหยุดโลกร้อน จำให้ขึ้นใจต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกใช้พลังงานสะอาด
  • อาบน้ำด้วยฝักบัว ประหยัดกว่าตักอาบหรือใช้อ่างอาบน้ำถึงครึ่งหนึ่งในเวลาเพียง 10 นาที ปิดน้ำขณะแปรงฟัน ประหยัดได้เดือนละ 151 ลิตร
  • ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง การทำน้ำร้อนใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลดคาร์บอนไดออกไซด์์ได้ 159  กิโลกรัมต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็นจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 227 กิโลกรัม
  • ใช้หลอดไฟตะเกียบ ประหยัดกว่าหลอดธรรมดา 4 เท่า ใช้งานนานกว่า 8 เท่า แต่ละหลอดช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 4,500 กิโลกรัม หลอดไฟธรรมดาเปลียนพลังงานน้อยกว่า 10% ไปเป็นแสงไฟ ส่วนที่เหลือถูกเปลี่ยนไปเป็นความร้อน เท่ากับสูญพลังงานเปล่าๆ มากกว่า 90%
  • ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะยังคงกินพลังงานมากแม้จะปิดแล้ว ดังนั้นควรถอดปลั๊กโทรทัศน์ สเตอริโอ คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ ฯลฯ เมื่อไม่ใช้ หรือเสียบปลั๊กเข้ากับแผงเสียบปลั๊กที่คอยปิดสวิชท์ไว้เสมอเมื่อไม่ใช้ และควรถอดปลั๊กที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือและ MP3 เมื่อไฟเต็มแล้ว
  • ใช้ตู้เย็นแบบ 2 ประตู ขนาดความจุ 400 ลิตร ตั้งอุณหภูมิที่ 3-5 องศา และ -17 ถึง -15 องศาในช่องแช่แข็ง มีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟมากที่สุด
  • เปิดแอร์ที่ 25 องศา อุณหภูมิต่ำกว่านี้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 5 - 10 %
  • ใช้แล็บท็อปจอแบน ประหยัดไฟมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะถึง 5 เท่า จำไว้ สกรีน เซฟเวอร์ และหมวดสแตนบายด์ไม่ได้ช่วยประหยัดไฟ พลังงานที่เสียไปเท่ากับซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ได้ 1 เครื่อง และพริ้นเตอร์เลเซอร์ประหยัดพลังงานมากกว่าอิงค์เจ็ท
  • พกถุงผ้าไปช็อปปิ้ง แทนการใช้ถุงพลาสติก แต่ละปีทั่วโลกทิ้งถุงพลาสติกจากซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแสนล้านใบ อย่าลืมว่า การลดขยะเท่ากับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ใส่เสื้อผ้าฝ้ายออร์แกนิค และใช้เครื่องใช้รีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้้
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ  เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 545 กิโลกรัมต่อปี
  • ปลูกต้นไม้ 1 ต้นดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุขัย และรดน้ำช่วงเช้า และกลางคืน ป้องกันการระเหย
  • กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง เพราะการผลิตเนื้อสัตว์ใช้พลังงานและทรัพยากรมากกว่าการปลูกพืชและธัญพืช 18% ของก๊าซเรือนกระจกมาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ คุณไม่ต้องเป็นมังสวิรัติก็ได้เพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ลองไม่กินเนื้อสัตว์สัปดาห์ละครั้ง จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มหาศาล
  • เดินแทนขับ พาหนะใช้น้ำมันถึงครึ่งหนึ่งของโลก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 1 ใน 4 ส่วน การทิ้งรถไว้ที่บ้านแม้เพียงสัปดาห์ละ 1 วันสามารถประหยัดน้ำมันและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากมายภายใน 1 ปี ลองเดิน ขี่จักรยาน นั่งรถกับคนอื่น หรือ นั่งรถเมล์หรือรถไฟฟ้าแทน หรือลองดูว่าคุณสามารถทำงานที่บ้านโดยต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่อข่ายของบริษัทสัปดาห์ละครั้งได้หรือไม่
  • เช็คลมยาง ให้แน่ใจว่ายางรถสูบลมแน่นการ ขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ น้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 9 กิโลกรัม ยางที่สูบลมไม่พอจะใช้น้ำมันได้ในระยะทางสั้นลง 5%
  • ลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลให้มากขึ้น ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งหนึ่งจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซต์ได้ถึง 1,089 กิโลกรัมต่อปี

 

การอนุรักษ์น้ำและประหยัดน้ำภายในบ้าน

การอนุรักษ์น้ำเเละประหยัดน้ำภายในบ้าน

การอนุรักษ์น้ำการอนุรักษ์น้ำ

การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ เป็นสิ่งสำคัญ! รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วปริมาณการใช้น้ำสามารถส่งผลต่อค่าไฟในบ้านโดยตรง อย่างทุกครั้งที่ใช้น้ำร้อน คุณก็ต้องเสียค่าไฟ การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้เปลืองไฟฟ้าแล้ว ยังส่งผลให้เกิดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ในแต่ละวันเราเผลอเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะล้างจานหรือแปรงฟัน ซึ่งล้วนเป็นการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย ความจริงแล้วเราสามารถใช้น้ำอย่างประหยัด และทำตามวิธีการอนุรักษ์น้ำง่ายๆ ด้วยหลากหลายเทคนิคที่เรารวบรวมมาให้คุณทางด้านล่างนี้

คุณควรหมั่นตรวจสอบท่อน้ำ ก๊อก และสายยางต่างๆ เพื่อช่วยในการอนุรักษ์น้ำ เพราะหากมีการชำรุด น้ำจะรั่วไหลออกมา และทำให้คุณเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์

วิธีประหยัดน้ำต่างๆ

  • การอนุรักษ์น้ำที่ง่ายที่สุดคือ การปิดน้ำเมื่อไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ระหว่างการแปรงฟัน หรือระหว่างล้างจาน เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถประหยัดน้ำ โดยเปลี่ยนมาอาบน้ำฝักบัวที่ใช้น้ำน้อยกว่าการอาบในอ่าง หรือเปลี่ยนมาล้างจานในกะละมังโดยใช้น้ำผสมน้ำยาล้างจาน แทนการล้างแบบให้น้ำไหลผ่านก็สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้เช่นกัน
  • คุณควรใส่เสื้อผ้าลงในเครื่องซักผ้าให้เต็มปริมาณเท่าที่เครื่องรับไหว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำความสะอาดหลายรอบ แต่อย่าใส่เกินเครื่องกำหนด เพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก จนกินไฟฟ้า และเครื่องเสียได้ อย่าลืมกำจัดคราบสกปรกต่างๆ ก่อนทำการซักทำความสะอาด เพื่อประหยัดเวลา พลังงาน และปริมาณน้ำ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องซักผ้า เพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกอุดตันด้วย
  • เช่นเดียวกับเครื่องซักผ้า คุณควรใส่จานและเครื่องใช้ในครัวให้เต็มเครื่องล้างจาน เพื่อจะได้เป็นการใช้น้ำอย่างประหยัดในการล้างแค่รอบเดียว อย่าลืมเช็ดสิ่งสกปรกฝังแน่นออกจากจานก่อนล่วงหน้า เพื่อที่เครื่องล้างจานจะไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป อย่างไรก็ตามหากมีจานในปริมาณน้อย คุณควรเลือกล้างทำความสะอาดด้วยมือ ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดไฟได้ดีกว่า
  • คุณสามารถประหยัดน้ำ โดยนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น นำน้ำล้างจานหรือน้ำซักผ้าไปล้างรถยนต์หรือรดน้ำต้นไม้ แต่เนื่องจากน้ำที่ผ่านการใช้แล้วอาจมีสารเคมีตกค้างปนเปื้อน ดังนั้นคุณดูให้แน่ใจว่าเป็นน้ำที่จะนำมาใช้นั้นเป็นน้ำสุดท้าย เพื่อให้มีสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ชักโครกเป็นเครื่องสุขภัณฑ์ที่ใช้น้ำในปริมาณมาก คุณสามารถใช้น้ำอย่างประหยัด ได้โดยเลือกกดชักโครกให้เหมาะสม และยังสามารถนำขวดพลาสติกใส่น้ำ ใส่ลงไปในแทงก์น้ำด้านหลังชักโครก เพื่อลดประมาณน้ำเข้าออกอีกด้วย และอย่าลืมดูให้มั่นใจว่าท่อน้ำมันรั่วหรือชำรุดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วไหลออกมา

การอนุรักษ์น้ำไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณรู้จักวิธีใช้น้ำอย่างประหยัดที่ถูกต้องเหมาะสม ลองทำตามวิธี ประหยัดน้ำต่างๆ ที่เราได้รวบรวมมาให้ข้างต้น แค่นี้คุณก็สามารถช่วยในการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ รวมไปถึงช่วยการอนุรักษ์น้ำ และรักษาสิ่งแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน

  • กำจัดคราบสกปรกต่างๆ ก่อนทำการซักทำความสะอาด
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ล้างออกได้ในน้ำเดียว เช่น คอมฟอร์ท
  • หมั่นทำความสะอาดเครื่องซักผ้า เพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกอุดตัน จนทำให้เครื่องซักผ้าเสียหายได้

 

วิธีการคัดแยกขยะ

การแยกขยะแบบถูกวิธี

การคัดแยกขยะในบ้าน

การลดปริมาณขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นง่ายๆ ได้ที่บ้านเพียงคุณรู้จักวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ลองทำตามวิธีแยก ขยะง่ายๆ ที่เราได้รวบรวมมาให้แล้วในหนึ่งวันบ้านเรือนสามารถสร้างขยะได้จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเศษอาหาร หรือของที่ใช้หมดแล้ว เป็นต้น แต่ก่อนจะนำขยะไปทิ้ง คุณควรแยก ขยะ เพื่อให้พนักงานเก็บขยะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แถมขยะบางส่วนยังสามารถนำมารีไซเคิล เพื่อกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปบริจาค เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงการช่วยประหยัดทรัพยากรไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

ก่อนคัดแยกขยะรีไซเคิล คุณควรตรวจดูเครื่องหมายรีไซเคิลเสียก่อน เพื่อจะได้รู้วิธีนำกลับมาใช้ใหม่หรือแปรรูปที่ถูกต้อง เช่น ประเภทของพลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นถุงพลาสติก กระดาษที่สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

วิธีการคัดแยกขยะ

ขั้นตอนแรกก่อนการนำขยะไปทิ้ง หรือรีไซเคิลเพื่อนำไปใช้ต่อไปเริ่มต้นที่การแยกขยะ คุณควรเริ่มจากการแยกขยะ ตามประเภทก่อนนำไปทิ้งตามถังขยะสีต่างๆ ให้เหมาะสมกับขยะแต่ละชนิด

  • ขยะเปียก คือขยะย่อยสลายง่าย มีความชื้น มีกลิ่น และเน่าเสียได้ง่าย เช่น เศษเหลืออาหาร เปลือกผลไม้ คุณควรนำไปทิ้งนอกบ้านทุกวัน โดยทิ้งใส่ในถังขยะสีเขียวสำหรับขยะเปียก
  • ขยะรีไซเคิล คือขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ เช่น แก้ว ขวดน้ำ กระดาษ กระป๋อง การแยกขยะรีไซเคิลควรเริ่มจากล้างทำความสะอาดของให้เรียบร้อย ก่อนใส่ถุงแยก เพื่อนำมาใช้ใหม่ นำไปบริจาค หรือนำไปทิ้งในถังขยะสีเหลืองต่อไป
  • ขยะอันตรายคือ ขยะที่มีสารเคมีหรือสารอันตรายปนเปื้อน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนหรือสิ่งแวดล้อมได้ เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ หรือแบตเตอรี่ เป็นต้น โดยคุณควรรวบรวมใส่ในถุงแยกจากชนิดขยะอื่นๆ และนำไปทิ้งในถังขยะสีแดงสำหรับขยะอันตรายเท่านั้น
  • ขยะทั่วไป คือขยะอื่นๆ ที่ไม่เข้าพวกใดๆ ข้างต้น เช่น ซองขนม ที่ไม่เน่าสลาย แต่ก็ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งคุณสามารถนำมาแยกใส่ถังขยะสีฟ้าจากขยะอื่นๆ เพื่อให้รถขยะมาเก็บต่อไป

วิธีแยกขยะรีไซเคิล

ความจริงแล้วขยะในบ้านส่วนใหญ่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือแม้กระทั่งขวดพลาสติกต่างๆ ดังนั้น การแยกขยะรีไซเคิลจะช่วยให้คุณสามารถลดปริมาณขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม และคุณอาจนำไปขายทำรายได้พิเศษก็ได้เช่นกัน แต่อย่าลืมแยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภทออกจากกัน เพื่อความสะดวกในการนำกลับไปใช้ใหม่ บริจาค หรือทิ้ง

  • พลาสติก เป็นขยะรีไซเคิลที่ไม่สามารถเผาทำลายหรือฝังดินได้ ขยะประเภทขวดหรือถุงพลาสติกสามารถนำไปทำความสะอาดและใช้ใหม่ได้อีกครั้ง หรือคุณจะดูป้ายขยะรีไซเคิล เพื่อดูประเภทก่อนนำไปบริจาคเพื่อแปรรูปเป็นสินค้าอื่นๆ ต่อไป
  • แก้ว เช่น ขวดต่างๆ สามารถนำมาใช้ใส่ของต่างๆ ได้ใหม่ อย่างไรก็ตามแก้วที่แตกแล้วก็สามารถรวบรวมนำไปบริจาคเพื่อนำไปหลอมทำแก้วใหม่ โดยคุณควรแยกแก้วออกเป็นสีต่างๆ และใส่ในถุงที่หนา เพื่อไม่ให้แก้วบาดจนถุงขาดและเป็นอันตรายได้
  • กระดาษ มีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกระดาษสมุด กระดาษหนังสือพิมพ์ ไปจนถึงกระดาษลัง คุณสามารถนำกระดาษที่ใช้ด้านเดียวมาใช้ใหม่ หรือนำกระดาษอื่นๆ ไปบริจาค สิ่งสำคัญคืออย่าลืมเอาลวดเย็บกระดาษออกเพื่อความปลอดภัยในการหยิบจับ
  • โลหะและอลูมิเนียม สามารถนำไปบริจาคเพื่อรีไซเคิลได้ แต่คุณควรดูประเภทและแยกหมวดหมู่ต่างๆ ให้เหมาะสม และควรดูให้แน่ใจว่าเหล็กและอลูมิเนียมสะอาด ไม่มีสนิมหรือความแหลมคมที่ก่อให้เกิดอันตรายได้

การคัดแยกขยะไม่ใช่เรื่องยากหากคุณรู้วิธีแยกขยะที่ถูกต้อง ลองทำตามวิธีการแยกขยะรีไซเคิลและขยะประเภทต่างๆ ตามขั้นตอนที่เราได้รวบรวมมาให้ข้างต้น แค่นี้บ้านของคุณจะดูสะอาดสะอ้าน แถมคุณยังได้ช่วยลดขยะ ลดการทำงานของพนักงานเก็บขยะ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

  • นำเศษอาหารที่เหลืออยู่มาทำปุ๋ยหมักตามธรรมชาติ เพื่อใช้กับต้นไม้หรือดอกไม้ในบ้าน
  • เลือกซื้อของที่รีไซเคิลได้ และหลีกเลี่ยงของที่ใช้ได้ครั้งเดียว เช่น แก้วกระดาษ
  • นำของที่ไม่ใช้แล้วกลับมาดัดแปลงใช้ใหม่ เช่น นำเสื้อผ้าที่ขาดแล้วมาทำเป็นผ้าขี้ริ้ว แทนที่จะโยนทิ้ง เป็นต้น

 

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese






















 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้188
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้1494
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้4183
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว16821
mod_vvisit_counterเดือนนี้31574
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว72940
mod_vvisit_counterทั้งหมด757745

We have: 28 guests, 1 bots online
IP: 18.227.183.177
วันนี้: ก.ย. 17, 2024

คุณพอใจ เทศบาลตำบลบางกระบือ ด้านใด







 



































QR Code
ทต.บางกระบือ



ลิขสิทธิ์ © 2558-2563 เทศบาลตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โทร 034-757-675

นโยบายการคุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล